Phone: +88 00 87 65 12
Mon-Sat (9am - 5pm)
Exm: Factory, Industry, Construction, Fuel Service
บอร์ด ความรัก,ยุคที่คนจะอายุยืนถึงปีทำให้ต้องวางแผนใหม่กับวงจรชีวิตช่วงคือการศึกษาการทำงานการเกษียณ ประสบการณ์ช.. โพสท์โดย pututoyนายชิเกอากิ ฮิโนฮารา ที่มาภาพ : https://www.facebook.com/shigeaki.hinoharaเมื่อเร็วๆ นี้ หนังสือพิมพ์ The Guardian ของอังกฤษรายงานข่าวว่า ญี่ปุ่นกำลังพัฒนารวดเร็วมากสู่สังคมคนสูงอายุ ในอีก 50 ปีข้างหน้า คาดว่าประชากรญี่ปุ่นจะลดลงจาก 127 ล้านคนในปี 2015 มาเหลือ 88 ล้านคนในปี 2065 ส่วนคนญี่ปุ่นที่มีอายุมากกว่า 65 ปี จะมีสัดส่วนเพิ่มจาก 27% เป็น 38% อายุเฉลี่ยของผู้ชายจะอยู่ที่ 84.95 ปี ส่วนผู้หญิงที่ 91.35 ปี ทำให้วงการแพทย์ของญี่ปุ่นกำลังรณรงค์ให้คำว่า ราษฎรอาวุโสหรือคนแก่ หมายถึงคนที่มีอายุมากกว่า 75 ปีขึ้นไปนายชิเกอากิ ฮิโนฮารา (Shigeaki Hinohara) ผู้อำนวยการกิตติมศักดิ์ โรงพยาบาล St Luke’s International ในโตเกียว แม้จะมีอายุ 100 ปีแล้ว ก็ยังทำงานในโรงพยาบาลแห่งนี้ เขาเป็นคนมีชื่อเสียงในญี่ปุ่น ที่สนับสนุนให้คนสูงอายุยังคงมีบทบาทในอาชีพการงานต่อไป ฮิโนฮาราเพิ่งจะเสียชีวิตเมื่อเร็วๆ นี้ เมื่อมีอายุ 104 ปี เขาเป็นหนึ่งในคนญี่ปุ่นที่มีอายุมากกว่า 100 ปี ในปี 2016 มีทั้งหมด 65,692 คน ซึ่งเป็นจำนวนมากเป็นประวัติการณ์“คนแก่ที่ยังหนุ่ม”ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา นิตยสาร Economist ก็ทำรายงานพิเศษเรื่อง เศรษฐศาสตร์ของการมีอายุยืนนานโดยกล่าวว่า การที่คนมีอายุยืนมากขึ้น มักจะถูกมองการณ์ว่าเป็นเรื่องในแง่ร้าย เพราะสังคมมีความคิดพื้นฐานแบบเดิมๆ ที่ว่า เมื่อคนมีอายุ 65 ปีไปแล้ว จะเปลี่ยนจากคนที่เคยเป็นฝ่ายให้สุทธิทางเศรษฐกิจ มาเป็นผู้รับประโยชน์แทน กลายเป็นคนที่สร้างภาระแก่สังคม ทุกวันนี้ ในประเทศพัฒนาแล้ว คน 90% ฉลองครบรอบวันเกิดปีที่ 65 และส่วนใหญ่ยังมีสุขภาพดี แต่อายุ 65 ปียังยึดถือกันว่าเป็นจุดเริ่มต้นของคนสูงอายุที่มาภาพ : ภาพจาก global-economic-symposium.orgตลาดแรงงานและระบบสวัสดิการต่างๆ ล้วนตั้งบนหลักเกณฑ์ที่คนเรามีอายุครบ 60 หรือ 65 สิ่งนี้สะท้อนถึงหลักเกณฑ์ของสังคมและตลาดแรงงาน ที่ก้าวไม่ทันกับความเป็นจริง ที่ชีวิตคนเรามีอายุยืนมากขึ้น และมีความสามารถทำงานได้ยาวนานมากขึ้น จริงๆ แล้ว กลุ่มคนที่ Economist เรียกว่า “คนแก่ที่ยังหนุ่ม” (The Young Old) ค่อนข้างจะมีสุขภาพดี ยังคงทำงานตามปกติอยู่ และยังสร้างมูลค่าเศรษฐกิจแก่สังคม ทั้งในแง่ผู้ผลิตและผู้บริโภค แต่ความคิดเก่าๆ เดิมๆ เรื่อง วงจรชีวิต 3 ขั้นตอน ที่ประกอบด้วย การศึกษา-การทำงาน-การเกษียณ ยังฝังแน่นอยู่ ทำให้นายจ้างปิดโอกาสแก่คนเหล่านี้ ส่วนธุรกิจและสถาบันการเงินก็ไม่ค่อยสนองความต้องการคนกลุ่มนี้ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า การกำหนดวงจรชีวิตแบบใหม่ขึ้นมา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างลุ่มลึกในหลายๆ ด้าน การให้ความสำคัญต่อเด็กและเยาวชนในศตวรรษที่ 19 ทำให้เกิดกฎหมายการคุ้มครองเด็ก การศึกษาภาคบังคับ และธุรกิจใหม่ๆ ตั้งแต่ของเล่นเด็กไปจนถึงหนังสือเด็ก เพราะฉะนั้น การแบ่งขั้นตอนต่างๆ ของชีวิตคนเรา จึงเกิดขึ้นหรือสร้างขึ้นมาจากความคิดของสังคม และขั้นตอนชีวิตที่ถูกจัดแบ่งนี้ ก็ส่งผลต่อเศรษฐกิจแท้จริงด้วยงานอาชีพกับอายุยืน 100 ปีหนังสือชื่อ The 100-Year Life ผู้เขียนคือ Lynda Gratton และ Andrew Scott กล่าวว่า เนื่องจากคนทั่วไปจะมีอายุยืนมากขึ้น และก็ต้องทำงานเป็นระยะเวลาที่นานมากขึ้น เพื่อให้มีรายได้สำหรับชีวิตที่ยืนยาวดังกล่าว แต่อาชีพการงานในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การจะเลือกอาชีพการงานได้ถูกต้อง เพื่อรองรับมีชีวิตที่อายุยืนมากขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับอาชีพการงานในอนาคต การมองเห็นหน้าที่การงานในอนาคตจึงมีความสำคัญต่อการมีชีวิตที่ยืนยาวหนังสือที่กล่าวว่า การมีอายุยืนของคนเราจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน เหมือนกับผลกระทบของโลกาภิวัตน์และเทคโนโลยี ที่มาภาพ : http://www.100yearlife.com/นักวิเคราะห์หลายคนคาดหมายว่า รูปแบบบริษัทที่คนเราจะทำงานในอนาคต จะเปลี่ยนไป เศรษฐกิจในยุคของบริษัทยักษ์ใหญ่ ซึ่งเป็นยุคที่ทำให้เกิดการจ้างงานจำนวนมาก และเป็นงานในสำนักงาน แต่ธุรกิจในรูปแบบบริษัทขนาดใหญ่กำลังตกต่ำลงและพ่ายแพ้ต่อบริษัทเล็กๆ ที่รายล้อมบริษัทใหญ่ๆ เทคโนโลยีทำให้บริษัทเล็กๆ มีความคล่องตัวกว่าบริษัทใหญ่ อย่างเช่น นักวิเคราะห์บางคนเห็นว่า เทคโนโลยี 3D Printing จะทำให้บริษัทขนาดใหญ่ไม่มีความได้เปรียบทางธุรกิจอีกต่อไป จากเดิมที่เคยอาศัยความได้เปรียบจากปริมาณการผลิตจำนวนมาก ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำในอนาคต บริษัทยักษ์ใหญ่ก็ยังดำเนินธุรกิจอยู่ตามปกติ เช่น บริษัทน้ำอัดลม Pepsi หรือบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภค Unilever แต่ก็มีบริษัทอย่าง Google หรือ Roche ที่มีเงินทุนมหาศาล ที่จะดึงคนเก่งที่สุดมาทำงาน เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีรุ่นต่อไป หรือยารักษาโรคใหม่ๆ ขึ้นมาแต่ธุรกิจในอนาคต บริษัทขนาดใหญ่จะถูกรายล้อมด้วยบริษัทเล็กๆ หรือบริษัทสตาร์ทอัป ที่ต้องการคนทำงานที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน อย่างเช่น Samsung มีระบบธุรกิจที่รายล้อมด้วยบริษัทพันธมิตรขนาดเล็กๆ จำนวนหลายร้อยบริษัท รูปแบบธุรกิจของบริษัทขนาดเล็กดังกล่าว จะสร้างโอกาสการจ้างงานที่หลากหลาย จะเป็นการจ้างงานแบบเน้นความชำนาญการเฉพาะ และการจ้างงานจะมีความยืดหยุ่นวงการแพทย์ญี่ปุ่นกำลังรณรงค์ ให้คนอายุ 75 ปีขึ้นไป เป็นคนสูงอายุ ที่มาภาพ : weforum.orgรูปแบบของเศรษฐกิจในอนาคต จะทำให้คนเรามีทางเลือกที่จะทำงานแบบจ้างงานตัวเอง (self- employment) เทคโนโลยีที่เชื่อมโยงคนทำงานกับบริษัทที่ต้องการซื้อทักษะของคนคนนั้นมีความซับซ้อนมากขึ้น มีขอบเขตทั่วโลก และมีราคาถูกลง แพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงดังกล่าวกำลังแพร่หลายมากขึ้น นำไปสู่รูปแบบเศรษฐกิจที่เรียกว่า Gig Economy และ Sharing Economy ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้ต้นทุนการประมวลข้อมูลถูกลง ทำให้คนซื้อและคนขายมาพบกันง่ายขึ้น รวมทั้งช่วยระบุความน่าเชื่อถือและคุณภาพของแต่ละฝ่ายGig Economy หมายถึงเศรษฐกิจที่คนเป็นจำนวนมากมีรายได้ ที่ไม่ใช่จากการทำงานเต็มเวลาหรือบางเวลา แต่จากการทำงานเฉพาะอย่างให้กับคนซื้อที่หลากหลาย เช่น ทุกวันนี้ คนเราสามารถขายความเชี่ยวชาญของตัวเองผ่านแพลตฟอร์ม Upwork บริษัทที่เป็นตัวกลางให้ลูกค้าพบกับพวกมืออาชีพอิสระในสาขาต่างๆ บริษัทขนาดใหญ่เองก็ใช้วิธีการนี้ เพื่อมองหาคนที่มีความสามารถมาทำงานเฉพาะกิจมากขึ้น ส่วน Sharing Economy คือธุรกรรมที่เป็นแหล่งรายได้แบบยืดหยุ่น เช่น การหาลูกค้ามาเช่าที่พักผ่าน Airbnbเงินทุนเพื่ออายุที่ยืนยาวนิตยสาร Economist กล่าวว่า ในกลุ่มประเทศ OECD คนที่เกษียณมีอายุ 65 ปีขึ้นไป อาศัยเงินบำนาญจากรัฐ ในสหรัฐฯ และอังกฤษ คนเกษียณได้รับบำนาญประมาณ 40% ของรายได้สุดท้าย ส่วนบางประเทศในยุโรป สูงถึง 80% นอกจากนี้ ลูกจ้างที่เกษียณยังอาศัยเงินบำนาญเสริมจากโครงการบำนาญเอกชน ที่ลูกจ้างจ่ายเงินสมทบ และรับบำนาญหลังเกษียณ ในเนเธอร์แลนด์ ระบบบำนาญเอกชนมีอยู่ 4 แบบ คือ กองทุนบำนาญทั่วไป กองทุนบำนาญบริษัท กองทุนบำนาญอาชีพอิสระ และกองทุนบำนาญคนจ้างงานตัวเองระบบบำนาญหลังเกษียณตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดของวงจรชีวิตแบบเก่า ที่คนเกษียณเมื่ออายุ 65 ปี เมื่อคนมีอายุยืนมากขึ้น ระบบบำนาญรัฐจึงสร้างภาระทางการเงินแก่รัฐ ส่วนระบบโครงการบำนาญเอกชน ลูกจ้างเก็บออมน้อยไปในช่วงการทำงาน เพราะเหตุนี้ เมื่อคนมีอายุยืนมากขึ้น ธุรกิจการเงินจึงต้องหาทางมีนวัตกรรมใหม่ๆ โดยเฉพาะกับสินทรัพย์ของคนเกษียณ เพื่อให้คนสูงอายุเหล่านี้ สามารถมีรายได้มากขึ้นจากสินทรัพย์เหล่านี้ เช่น บ้านพักอาศัย เป็นต้นคนจำนวนมากไม่ได้มีเงินออมเก็บพอเมื่อเกษียณ ในสหรัฐฯ 40% ของคนอเมริกันไม่มีเงินเก็บเมื่อเกษียณ คนอังกฤษที่มีอายุระหว่าง 55-65 ปี ผู้หญิง 20% ไม่มีเงินเก็บเพื่อเกษียณ ส่วนผู้ชาย 12% แต่ปัญหาส่วนหนึ่งเป็นเรื่องความคิด คือคนบางส่วนประเมินต่ำไปว่า ตัวเองจะมีอายุยืนไม่มาก และประเมินสูงไปว่าเงินเก็บของตัวเองจะใช้ไปได้นาน ในอนาคตที่คนมีอายุยืนมากขึ้น คนจะทำงานแบบจ้างงานตัวเองมากขึ้น เช่น ขับรถแท็กซี่ Uber การทำให้คนกลุ่มนี้มีเงินเก็บออมมากขึ้น จึงเป็นเรื่องสำคัญ รัฐและเอกชนอาจมีโครงการการเงินแบบเดียวกับกองทุนบำนาญสำหรับคนจ้างงานตัวเองของเนเธอร์แลนด์ที่มาภาพ : https://www.weforum.org/agenda/2017/01/what-would-your-80-year-old-self-say/การปันผลเศรษฐกิจจากอายุยืนนิตยสาร Economist กล่าวว่า สังคมจะได้ประโยชน์จากสภาพที่ประชาชนมีอายุยืนมากขึ้น ก็ขึ้นอยู่กับว่า สังคมจะใช้ประโยชน์จากโอกาสนี้อย่างไร ในต้นทศวรรษ 2000 ผู้ชายอเมริกันอายุ 69 ปี รู้สึกว่าตัวเองมีสุขภาพดีเหมือนกับคนอายุ 60 ปี ในทศวรรษ 1970 เพราะฉะนั้น คนมีอายุ 70 ปี ก็เหมือนกับคนอายุ 60 แบบใหม่ หากนายจ้างและธุรกิจต่างๆ ปรับตัวเพื่อใช้ประโยชน์จากคนสูงวัยเหล่านี้ จะเกิดการปันผลทางเศรษฐกิจจากการมีอายุยืน แบบเดียวกับการปันผลทางเพศที่เกิดขึ้นในทศวรรษ 1970 เมื่อผู้หญิงจำนวนมากเข้าสู่ตลาดแรงงานสังคมที่คนอายุยืนมากขึ้น ทำให้วงจรชีวิตแบบเดิม เช่นเกษียณเมื่ออายุ 60 หรือ 65 ปี ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ที่มาภาพ : independent.co.ukส่วนหนังสือ The 100-Year Life กล่าวว่า การมีชีวิตที่ยืนยาวนานมากขึ้น จำเป็นที่เราแต่ละคนต้องมีการออกแบบชีวิตใหม่ในระดับพื้นฐาน และการปรับโครงสร้างของช่วงเวลาการมีชีวิต ซึ่งจะทำให้การมีอายุยืนไม่ใช่สิ่งที่เป็นภาระ แต่จะกลายเป็นของขวัญชีวิต คนที่ชีวิตมีอายุยืนยาวจะต้องมองว่า อายุที่ยืนยาวนี้คือ การเดินทางแบบต่อเนื่องกันทั้งหมด (whole journey) ที่จะตัวกำหนดวิถีชีวิตของเรา และเราจะต้องเผชิญหน้ากับคำถามที่ว่า “การเดินทางนี้จะมีรูปแบบใด” และ “อะไรคือสิ่งสำคัญของการเดินทางครั้งนี้” คำตอบต่อคำถามนี้จะมาจากสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเราเอกลักษณ์คือสิ่งที่จะยึดโยงอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ของเราแต่ละคน ในวงจรชีวิตแบบเดิม 3 ขั้นตอน คือ การศึกษา-การทำงาน-การเกษียณ การเชื่อมต่อของแต่ละช่วงชีวิต เป็นเรื่องที่บริหารจัดการได้ง่าย อาชีพการงานให้ความมั่นคงทางการเงิน ทำให้คนเราสามารถใช้ชีวิตเกษียณที่มีกิจกรรมในยามว่างต่างๆ แต่ชีวิตที่ยืนยาวมากขึ้น ทำให้คนเราถูกบังคับให้ออกจากวงจรชีวิต 3 ขั้นตอนเดิมๆ ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การทำงาน หรือการเกษียณการเรียนรู้และการศึกษาเป็นเรื่องสำคัญสำหรับชีวิตที่อายุยืนมากขึ้น ทำให้คนจำนวนมากจะมีการศึกษาและเรียนรู้มากขึ้น ใช้เวลามากขึ้นในการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย มีการฝึกอบรมด้านวิชาชีพมากขึ้น การศึกษาที่มากขึ้นไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงต้นๆ ของชีวิตเท่านั้น แต่จะเป็นการลงทุนแบบจริงจังในช่วงหลังๆ ของชีวิตอีกด้วย เพราะคนต้องเรียนรู้วิชาการเฉพาะด้านใหม่ๆ เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพการจ้างงานที่เปลี่ยนไปสังคมที่คนมีอายุยืนยาวมากขึ้นจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการทำงานของคนเรา เหมือนกับผลกระทบของโลกาภิวัตน์และเทคโนโลยี ที่มีต่อการดำเนินชีวิตและการทำงานของเราทุกคน คนแต่ละคนจะต้องคิดเตรียมการในเรื่องนี้ ที่รวมถึงการเตรียมการขององค์กรธุรกิจและภาครัฐ เพื่อให้ทุกส่วนของสังคม ได้ประโยชน์จากการมีอายุยืนของคนในสังคมเอกสารประกอบThe Economics of Longevity. The Economist, July 8, 2017.Lynda Gratton and Andrew Scott. The 100-Year Life, Bloomsbury, 2016.